น้ำส้มควันไม้ หรือ น้ำวู้ดเวเนการ์ (Wood vinegar) คือผลผลิตที่ได้จากกระบวนการเผาถ่าน มีลักษณะเหลวสีน้ำตาลแดงหรือสีเหลืองอมน้ำตาล

ได้จากการควบแน่นของควันไฟที่เกิดจากการเผาถ่านในช่วงอุณหภูมิเผา 300 – 400 องศาเซลเซียส อุณหภูมิดังกล่าวทำให้สารประกอบต่างๆ ในไม้ฟืนสลายตัวด้วยความร้อน เกิดเป็นสารประกอบขึ้นใหม่ซึ่งมีประโยชน์มากมาย น้ำส้มควันไม้แตกต่างจากน้ำส้มอื่นๆ ที่ได้จากการหมัก หรือการกลั่น คือ มีสารประกอบหลากหลายกว่า โดยเฉพาะฟีนอลที่ได้จากการสลายตัว ของลิกนิน น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบต่างๆ มากกว่า 200 ชนิดซึ่งได้จากการ สลายตัวของไม้ด้วยความร้อนจนเกิดเป็นสารประกอบใหม่หลายชนิด เช่น กรดอินทรีย์ และแอลกอฮอล์ชนิดต่างๆ ที่ได้จากการสลายตัวของเฮมิ เซลลูโลสและเซลลูโลส น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบที่สำคัญได้แก่ น้ำ 85 % กรด อินทรีย์ 3 % และสารอินทรีย์อื่นๆ 12 % มีค่า pH 1.5-3.7

ประโยชน์ของน้ำส้มควันไม้

1. ด้านการเกษตร

ประโยชน์ด้านการเกษตร

อัตราส่วน

วิธีการใช้

  • ป้องกันไส้เดือนฝอยแมลงในดิน มด ปลวก
  • ป้องกันโรครากเน่าและโคนเน่าเนื่องจากเชื้อรา
  • เร่งการเจริญเติบโต และกระตุ้นการต้านทานโรค
  • ป้องกันโรคศัตรูพืช ขับไล่แมลงทุกชนิด และเชื้อรา
  • ช่วยสังเคราะห์น้ำตาลของพืช ทำให้ผักและผลไม้มีรสหวาน
  • เป็นสารจับใบ ช่วยลดการใช้สารเคมี
  • กระตุ้นการงอกของเมล็ดพืชหรือทำลายการฟักตัวของเมล็ด
  • ใช้ทำปุ๋ยคุณภาพสูง
  • กำจัดกลิ่นและป้องกันแมลงในฟาร์มปศุสัตว์
  • กำจัดเห็บ หมัด และรักษาโรคเรื้อนของสัตว์
  • ใช้ผสมอาหารสัตว์ เพื่อช่วยย่อยอาหารและป้องกันโรคท้องเสีย
  • ป้องกันปลวกมด และแมลงต่างๆ
  • ดับกลิ่นห้องนํ้า ห้องครัว บริเวณที่ชื้นแฉะ และกำจัดกลิ่น
  • รักษาแผลสด แผลถูกน้ำร้อนลวกและไฟไหม้
  • กำจัดมดปลวก

1:20 น้ำส้มควันไม้ 5 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ลิตร

ฉีดพ่นก่อนปลูกพืช 15 วัน

 

1:100 น้ำส้มควันไม้ 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ลิตร

ฉีดพ่นก่อนปลูกพืช 15 วัน

 

1:200 น้ำส้มควันไม้ 1/2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ลิตร

ราดโคนต้นทุก 7-15 วัน

 

1:200 น้ำส้มควันไม้ 1/2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ลิตร

ฉีดพ่นที่ใบทุก 7-15 วัน

 

1:500 น้ำส้มควันไม้ 4 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ปี๊บ

ฉีดพ่นผลอ่อนหลังติดผลแล้ว 15 วัน และฉีดพ่นอีกครั้งก่อนเก็บเกี่ยว 20 วัน

 

1:1,000 น้ำส้มควันไม้ 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ปี๊บ

ใช้แทนสารจับใบที่ผสมสารเคมีฉีดพ่น สามารถลดการใช้สารเคมีมากว่าครึ่งจากที่เคยใช้ แต่ห้ามใช้ร่วมกับสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นด่างหรือเกลือ

 

1:1,000 น้ำส้มควันไม้ 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ปี๊บ

ใช้แช่เมล็ดพันธุ์พันธุ์นานประมาณ 20 – 30 นาทีหากเมล็ดพืชมีเปลือกหนา อาจเพิ่มเวลาการแช่นาน เพิ่มขึ้นเป็น 3-6 ชั่วโมง เพื่อช่วยให้เปลือกเมล็ดนุ่มอ่อนตัวลงทำลายการฟักตัวของเมล็ด

 

นํ้าส้มควันไม้เข้มข้น 100 เปอร์เซ็นต์

หมักกับหอยเชอรี่บด เศษปลา เศษเนื้อ หรือกากถั่วเหลือง โดยใช้โปรตีนต่างๆ 1 กิโลกรัม ต่อนํ้าส้มควันไม้ 2 ลิตร หมักนาน 1 เดือน แล้วกรองกากออก เวลาใช้ให้ผสมนํ้า 200 เท่า

 

2. ด้านปศุสัตว์

ประโยชน์ด้านปศุสัตว์

อัตราส่วน

วิธีการใช้

 

1:100 น้ำส้มควันไม้ 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ลิตร

ราดพื้น คอกสัตว์หรือบริเวณที่มีกลิ่นทุก 7 วัน

 

น้ำส้มควันไม้เข้มข้น 100%

ฉีดพ่นที่ตัวสัตว์อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง

 

นำนํ้าส้มควันไม้ไปผสมผงถ่านก่อนในอัตราส่วนนํ้าส้มควันไม้ 2 ลิตร : ผงถ่าน 8 กิโลกรัม

นำผงถ่านที่ชุ่มนํ้าส้มควันไม้ไปผสมอาหารสัตว์ 990 กิโลกรัม จะได้อาหารสัตว์ในปริมาณ 1 ตันพอดี

 

3. ในครัวเรือน

ประโยชน์ในครัวเรือน

อัตราส่วน

วิธีการใช้

 

1 : 50 น้ำส้มควันไม้ 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร

พ่น หรือราดบริเวณบ้านทุกๆ 7-15 วัน

 

1 : 100 น้ำส้มควันไม้ 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร

พ่นบริเวณที่มีกลิ่นหรือถังขยะทุก 7 วัน

 

น้ำส้มควันไม้เข้มข้น 100 %

ทาบริเวณแผลทุกเช้าเย็น

 

น้ำส้มควันไม้เข้มข้น 100 %

พ่นหรือราดบริเวณรังมดหรือปลวก

ข้อควรระวังในการใช้นํ้าส้มควันไม้

1) ก่อนที่จะนำนํ้าส้มควันไม้ไปใช้ประโยชน์จะต้องให้นํ้าส้มไม้ดิบที่ได้จากการเก็บดักควันไม้ตกตะกอนอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อให้เกิดการแยกชั้นระหว่างนํ้ามันใส นํ้าส้มควันไม้ และนํ้ามันดิน

2) การนำนํ้าส้มควันไม้ไปใช้ประโยชน์ควรระวังอย่าให้เข้าตา เนื่องจากมีความเป็นกรดสูง

3) นํ้าส้มควันไม้ไม่ใช่ปุ๋ยแต่เป็นเพียงตัวเร่งปฏิกิริยา การนำนํ้าส้มควันไม้ไปใช้ในการเกษตรเป็นเพียงแค่ตัวเสริมประสิทธิภาพให้กับพืชที่ปลูกเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถใช้แทนปุ๋ยได้

4) การใช้นํ้าส้มควันไม้เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และแมลงในดินนั้นมีโทษต่อพืชปลูก ควรทำก่อนการเพาะปลูกอย่างน้อย 10 วัน

5) การนำนํ้าส้มควันไม้ไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรต้องผสมนํ้าให้เจือจางตามความเหมาะสม เนื่องจากอาจเกิดปัญหาสารประกอบอินทรีย์บางชนิดที่อยู่ในนํ้าส้มควันไม้มีความเข้มข้นสูงเกินไปส่งผลให้เกิดการยับยั้งการงอก ทำลายการเจริญของระบบราก หรือทำให้พืชแคระแกรน ใบเหลืองซีด หรือใบไหม้รุนแรงถึงขั้นพืชตายได้

กระบวนการผลิตน้ำส้มควันไม้

 

เอกสารอ้างอิง

จิระพงษ์ คูหากาญจน์. (2559). น้ำส้มควันไม้. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2561, จากเว็บไซต์:         
          http://forprod.forest.go.th/forprod/woodenergy/PDF/public/5.%20เอกสารเผยแพร่น้ำส้มควันไม้.

สุหฤทธา เต่งแกว. (2558). การผลิตน้ำส้มควันไม้แบบถัง 200 ลิตร. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2561, จากเว็บไซต์: http://krathumbaen.samutsakhon.doae.go.th.