วิถีอินทรีย์ วิถีเศรษฐกิจพอเพียง

 

แม้ว่าจะมีความพยายามมากมายในการให้คำ จำกัดความว่า เกษตรอินทรีย์หมายถึงอะไร แต่คำนิยามที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมากที่สุดเห็นจะเป็นคำนิยามของ สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movement – IFOAM) ซึ่งเป็นเครือข่ายขององค์กรด้านเกษตรอินทรีย์ระหว่างประเทศ ที่มีสมาชิกกว้างขวางที่สุดในโลก สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติได้สรุปความหมายเกษตรอินทรีย์ไว้ว่า คือ

Organic agriculture is a production system that sustains the health of soils, ecosystems and people. It relies on ecological processes, biodiversity and cycles adapted to local conditions, rather than the use of inputs with adverse effects. Organic agriculture combines tradition, innovation and science to benefit the shared environment and promote fair relationships and a good quality of life for all involved.”

“ระบบการผลิตที่ให้ความสำคัญกับ ความยั่งยืนของสุขภาพดิน ระบบนิเวศ และผู้คน เกษตรอินทรีย์พึ่งพาอาศัยกระบวนการทางนิเวศวิทยา ความหลากหลายทางชีวภาพ และวงจรธรรมชาติ ที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ แทนที่จะใช้ปัจจัยการผลิตที่มีผลกระทบทางลบ เกษตรอินทรีย์ผสมผสานองค์ความรู้พื้นบ้าน นวัตกรรม และความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมความสัมพันธ์ที่เป็นะรรม และคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกผู้คนและสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง”

มติที่ประชุมใหญ่ IFOAM มิถุนายน 2551 อิตาลี

 

นัยของเกษตรอินทรีย์ตามนิยามของสหพันธ์ เกษตรอินทรีย์นานาชาติมองเกษตรอินทรีย์ในฐานะของการเกษตรแบบองค์รวม ที่ให้ความสำคัญในเบื้องต้นกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศการเกษตรและ ทรัพยากรธรรมชาติ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ละเลยมิติด้านสังคมและเศรษฐกิจ เพราะความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อมไม่อาจดำรงอยู่ได้โดยแยกออกจากความ ยั่งยืนทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรและสังคมโดยรวม

 

การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในสวนธวัชเกิดจากปัจจัย 4 ประการ คือ

1. การตระหนักถึงสุขภาพ โดยเฉพาะการใช้สารเคมีในการผลิตสินค้าทางการเกษตรตลอดจนการบริโภคอาหารที่มีสารพิษตกค้าง ก่อให้เกิดสาเหตุการเจ็บป่วย และเสียชีวิต ด้วยโรคมะเร็งที่มีผลมาจากสารเคมี โดยเฉพาะสารกำจัดศัตรูพืชที่มีข้อมูลที่พิสูจน์ได้ว่าส่วนใหญ่เป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง

2. การผลิตการเกษตรที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี และสารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีราคาสูงขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ในขณะที่ราคาผลผลิตทางการเกษตรกลับลดลง จึงพยายามหาทางออกที่สามารถจะรอดพ้นจากสภาพการขาดทุนและหนี้สิน

3. ความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมที่ถูกปนเปื้อนจากสารพิษที่ใช้ในการเกษตรซึ่งมีผลทำให้สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ที่เป็นอาหารของประชาชนในชนบทได้ถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้งประสบการณ์การเกษตรเชิงเดี่ยวที่เป็นสาเหตุของการทำให้ดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ์ และการเกิดศัตรูพืชระบาดมากขึ้น อีกทั้งเป็นต้นเหตุของการใช้สารเคมีที่เป็นพิษมากขึ้น

4. ความต้องการสินค้าอินทรีย์ของตลาดที่ได้เพิ่มทวีมากขึ้น รวมทั้งราคาผลผลิตอินทรีย์ในตลาดสูงกว่าราคาผลผลิตธรรมดาประมาณร้อยละ 20-30 จึงเป็นแรงจูงใจให้เกิดการพัฒนาการผลิตเกษตรอินทรีย์

 

เอกสารอ้างอิง

เกษตรกรีนเนท. (2550). เกษตรอินทรีย์. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2561, จากเว็บไซต์ :

http://www.greennet.or.th/article/1007