เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซีส : บีที ( Bacillus thuringiensis : BT ) เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่มีพิษต่อมนุษย์และสัตว์ รวมถึงแมลงห้ำ แมลงเบียน

เป็นแบคทีเรียชนิดแกรมบวกเซลล์รูปแท่งต่อกันเป็นสายลูกโซ่ สามารถสร้างสปอร์ (Spore) และผลึกโปรตีน (Crystal protein) ซึ่งมีส่วนประกอบของเดลต้าเอนโด ท็อกซินที่มีฤทธิ์ในการทำลายหนอนเมื่อหนอนกินเข้าไป

กลไกการทำลายของเชื้อบีที

  1. หนอนกินผลึกโปรตีน สารพิษของเชื้อบีที
  2. สารพิษออกฤทธิ์ทำลายกระเพาะอาหาร
  3. ผนังเซลล์ถูกทำลายเกิดเป็นรู
  4. สปอร์ไหลเข้าสู่ลำตัวหนอนทำให้หนอนตาย

ชนิดของหนอนศัตรูพืชที่ใช้ บีที ควบคุมได้

- พืชผัก  หนอนใยผัก  หนอนคืบกะหล่ำ  หนอนกระทู้ผัก  หนอนเจาะสมอฝ้าย  หนอนผีเสื้อขาว และหนอนกินใบผัก เป็นต้น

- พืชไร่  หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด  หนอนบุ้ง  และหนอนคืบละหุ่ง เป็นต้น

- ไม้ผล  หนอนประกบใบส้ม  หนอนกินใบชมพู่  หนอนร่าน  หนอนแก้วส้ม  หนอนไหมป่า  และหนอนแปะใบองุ่น เป็นต้น

 

วิธีการใช้

  1. ผสม บีที อัตราใช้ 80 -120 ซีซี. ในน้ำ 1-2 ลิตร คนให้ละลายก่อนผสมในน้ำที่จะฉีดพ่นทั้งหมด
  2. พักไว้ 2-3 ชั่วโมง ให้ บีที แตกตัวสร้างสารพิษ
  3. ผสมสารจับใบ และควรฉีดพ่นในตอนเย็น
  4. ฉีดพ่นติดต่อกัน 2-3 ครั้ง ช่วงที่ศัตรูพืชระบาด
  5. ควรปรับหัวฉีดให้มีละอองเล็กที่สุดและฉีดพ่นให้ทั่วบนใบและใต้ใบ

                       

เทคนิคการใช้เชื้อบีทีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

  1. ใช้เชื้อบีทีในขณะที่หนอนยังตัวเล็ก หรือเริ่มฝักออกจากไข่
  2. ควรใช้เชื้อบีทีในช่วงเย็น เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกแสงแดดทำลาย
  3. ควรพ่นเชื้อบีทีทุก ๆ 3-5วัน การพ่นแต่ละครั้งควรผสมสารเพิ่มฤทธิ์
  4. ผลิตภัณฑ์บีที ที่ยังมีประสิทธิภาพจะไม่รวมตัวเป็นก้อนแข็ง หรือตกตะกอนแยกชั้น และสม่ำเสมอ
  5. ควรเก็บผลิตภัณฑ์บีทีไม่ให้ถูกแสงแดด และเชื้อต้องมีความใหม่สดเสมอ
  6. ห้ามผสม บีที กับ สารปฏิชีวนะกาจัดโรคพืช สารประกอบทองแดง และน้ำที่เป็นด่าง
  7. บีที เป็นสารประเภทกินตาย ต้องใช้เวลา 1-2 วัน
  8. ไม่ควรใช้ บี ที ในแปลงหม่อนสำหรับเลี้ยงไหม
  9. ควรใช้ บีที ผสมสารจับใบทุกครั้ง

 

การผลิตขยายเชื้อบีที

            อุปกรณ์

  1. ถังพลาสติกชนิดมีฝาปิด ขนาดความจุ 40 – 50 ลิตร ควรเป็นถังทึบแสง
  2. เครื่องปั๊มอากาศ 1 ตัว
  3. เชื้อ Bacillus thuringiensis 0.5 ลิตร
  4. นมข้นหวาน 4 กระป๋อง
  5. กากน้ำตาล 2 ลิตร
  6. น้ำสะอาด 40 ลิตร

           ขั้นตอนการผลิต

  1. นำน้ำใส่ถัง แล้วเติมนมข้นหวาน 2 กระป๋อง และเชื้อบีที จานวน 0.5 ลิตร คนให้เข้ากันปิดฝาให้สนิท ปั๊มอากาศให้เป็นเวลา 3 วัน
    (หรือเปิดใช้ไม้สะอาดคน 2 –3ครั้ง / วัน)
  2. เมื่อครบ 3 วัน เติมนมข้นหวานอีก 2 กระป๋อง และกากน้ำตาล 4 ลิตร คนให้เข้ากันปั๊มอากาศต่อไปอีก 3 วัน
  3. เมื่อครบ 6 วัน นำไปใช้ได้หรือบรรจุในขวดทึบแสง และเก็บไว้ในที่ไม่มีแสงแดดส่อง สามารถเก็บได้นาน ประมาณ 1 เดือน

 

เอกสารอ้างอิง

ธีระศักดิ์ ศรีวิชัย. (2557). การใช้สารชีวภัณฑ์ (Microbial Pesticide) เพื่อการป้องกันกำจัดศัตรูพืช. ใน ศูนย์บริหารศัตรูพืช จังหวัดเชียงใหม่, การผลิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง. ศูนย์บริหารศัตรูพืช จังหวัดเชียงใหม่

ศุภศักดิ์ ศรีโสดา. (2561). การผลิตขยายและใช้เชื้อแบคทีเรียและสารสกัดธรรรมชาติควบคุมศัตรูพืช. ใน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่, โครงการส่งเสริมการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี. ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตร ด้านอารักขาพืช จังหวัดเชียงใหม่

FaLang translation system by Faboba